ศิลปการแสดง




ความหมายของศิลปะการแสดง 
ศิลปะการแสดง เป็นคำที่ใช้เทียบคำภาษาอังกฤษว่า Performance Arts หมายถึง ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการแสดง ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบดั้งเดิมหรือประยุกต์ ได้แก่ การละคร การดนตรี และการแสดงพื้นบ้าน นอกจากนี้ ยังมีผู้ให้คำจำกัดความของคำว่าศิลปะการแสดงอีกหลายรูปแบบ อาทิ อริสโตเติล (Aristotle) นักปราชญ์ชาวกรีก ให้คำนิยามคำว่า "ศิลปะการแสดง คือ การเลียนแบบธรรมชาติ

ลีโอ ตอลสตอย ให้คำจำกัดความว่า เป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งระหว่างมนุษย์ ด้วยการใช้คำพูดถ่ายทอดความคิด และศิลปะของการแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก
ดับเบิลยู.เอช. ปาร์กเกอร์ (W.H.Parker) กล่าวไว้ว่า ศิลปะการแสดง คือ การแสดงออกถึงจินตนาการ ความปรารถนาในจิตใจของมนุษยชาติ
รองศาสตราจารย์ สดใส พันธุมโกมล ผู้ก่อตั้งภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า ศิลปะการแสดง คือ ศิลปะที่เกิดขึ้นจากการนำภาพจากประสบการณ์และจินตนาการของมนุษย์มาผูกเป็นเรื่อง และจัดเสนอในรูปแบบของการแสดง โดยมีผู้แสดงเป็นผู้สื่อความหมายและเรื่องราวต่อผู้ชม
ศิลปะการแสดงจึงเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือที่มนุษย์เราใช้เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงอารมณ์ ความรู้สึก ความคิดของตน เพื่อถ่ายทอดให้บุคคลอื่นได้เข้าใจรับรู้ถึงสิ่งที่ตนต้องการจะแสดงออก การแสดงถือเป็นศิลปะของการสื่อสารที่ปรากฏภาพเป็นรูปธรรม ซึ่งผู้ชมรับรู้และเข้าใจได้ง่ายโดยไม่ยุ่งยากในการตีความ ส่วนอารมณ์ความรู้สึกแม้จะอยู่ในรูปลักษณะที่เป็นนามธรรมก็จริง แต่ผู้ชมทั่วๆ ไปสื่อสัมผัสได้โดยตรงจากผู้แสดง
ส่วนนาฏศิลป์ ถือเป็นแหล่งรวมศิลปะและการแสดงไว้ด้วยกัน เป็นสาขาหนึ่งของศิลปะสาขาวิจิตรศิลป์ ที่ประกอบด้วย จิตรกรรม สถาปัตยกรรม วรรณคดี ดนตรีและนาฏศิลป์
นาฏศิลป์ จึงหมายถึง ศิลปะของการฟ้อนรำ เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นด้วยความประณีตงดงาม เพื่อให้ความบันเทิง ให้ผู้ที่ได้ดูมีความรู้สึกคล้อยตาม การร่ายรำนี้ต้องอาศัยเครื่องดนตรีและการขับร้องการแสดง เช่น ฟ้อนรำ ระบำ โขน ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกและมีลีลาท่าการแสดงที่แตกต่างกันไป สาเหตุหลักมาจากภูมิอากาศ ภูมิประเทศของแต่ละท้องถิ่น ความเชื่อ ศาสนา ภาษา นิสัยใจคอของผู้คน ชีวิตความเป็นอยู่
ที่มาของของนาฏศิลป์ไทย มาจาก 1.การเลียนแบบธรรมชาติ นำปรับประยุกต์นำเอากิริยาท่าท่างต่างๆ มาเรียบเรียงสอดคล้องติดต่อกันเป็นขบวนฟ้อนรำให้สวยงาม 2.การเซ่นสรวงบูชา การฟ้อนรำบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พัฒนามาให้มีการฟ้อนรำถวายกษัตริย์ในฐานะเป็นสมมติเทพ กระทั่งกลายมาเป็นฟ้อนรำเพื่อความบันเทิงของคนทั่วไป 3.การรับอารยธรรมมาจากอินเดีย ที่สืบทอดมายังชนชาติมอญและขอมซึ่งเป็นชนชาติที่ติดต่อใกล้ชิดกับไทย ทำให้ไทยพลอยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมของอินเดียไปในตัว อาทิ ภาษา ประเพณี และศิลปะการละคร ได้แก่ ระบำ ละคร และโขน
ส่วนประเภทของนาฏศิลป์ไทย ได้แก่ โขน ละคร การแสดงรำและระบำ การละเล่นพื้นเมือง มหรสพไทย






ศิลปการแสดงของไทย




ดนตรีพื้นบ้าน
ดนตรีพื้นบ้านเป็นเสียงดนตรีที่ถ่ายทอดกันมาด้วยวาจาซึ่งเรียนรู้ผ่านการฟังมากกว่าการอ่านและ เป็นสิ่งที่พูดต่อกันมาแบบปากต่อปากโดยไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกิจกรรมการดนตรีเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด จากการทำงานและช่วยสร้างสรรค์ความรื่นเริงบันทิงเป็นหมู่คณะและชาวบ้านในท้องถิ่นนั้นซึ่งจะทำให้เกิด ความรักสามัคคีกันในท้องถิ่นและปฏิบัติสืบทอดต่อมายังรุ่นลูกรุ่นหลาน จนกลายเป็นเอกลักษณ์ทางพื้นบ้านของท้องถิ่นนั้น ๆ สืบต่อไป




ละคร
ศิลปะการแสดงที่ผูกเป็นเรื่องราวมีเหตุการณ์เกี่ยวโยงเป็นตอน ๆ    ลักษณะการแสดงประกอบด้วยบทร้อง  ท่าทาง  การร่ายรำ  บทเจรจาและนาฏศิลป์ด้านอื่น ๆ มีการจัดฉากให้สอดคล้องกับบทละคร     ละครมีหลายชนิด  เช่นละครนอก  ละครใน  ละครดึกดำบรรพ์  ละครพันทาง  ละครร้อง  ละครพูด  เป็นต้น





ลิเก
ลิเก เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ คำว่า ลิเก เพี้ยนมาจากคำว่า ซิเกร์ ในภาษาเปอร์เซีย ที่ยืมมาจากคำว่า ซิกรุ (Zakhur) ในภาษาอาหรับ อันหมายถึงการอ่านบทสรรเสริญเป็นการรำลึกถึงอัลลอหฺพระเจ้าในศาสนาอิสลาม พระครูศรีมหาโพธิคณารักษ์ก็ได้กล่าวถึงลิเกไว้[1] ว่า พวกมุสลิมนิกายชีอะห์ หรือเจ้าเซ็นจากเปอร์เซีย นำสวดลิเกที่เรียกว่า ดิเกร์ เข้า มาในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย[2] กรมพระยาดำรงราชานุภาพก็ทรง บันทึกว่า ยี่เกนั้น เพี้ยนมาจาก จิเก





โขน
ศิลปะการแสดงนาฏศิลป์ของไทยแบบหนึ่ง  มีทั้งการรำและการเต้นที่ออกท่าทางเข้าดนตรี  ผู้แสดงถูกสมมติให้เป็นยักษ์  
ตัวลิง  มนุษย์  (ตัวพระ ตัวนาง)   และเทวดาโดยกรสวมหน้าซึ่งเรียกว่า   หัวโขน  (ปัจจุบันผู้แสดงเป็นมนุษย์และเทวดา บางพวกไม่สวมหน้า)  ผู้แสดงไม่ต้องร้องหรือเจรจาเองผู้แสดงทำท่าทางตามบทพากย์และคำร้องซึ่งเรียกว่า  ตีบท  โขนมีหลายประเภท เช่น  โขนกลางแปลง  โขนโรงนอก  หรือโขนนั่งราว  โขนโรงใน  โขนหน้าจอ  โขนฉาก  เป็นต้น



ลำตัด

การแสดงที่มาจากการแสดงบันตนของแขกมลายู มีลักษณะตัด และเฉือนกันด้วยเพลง (ลำ) การว่าลำตัดจึงเป็นการว่าเพลงรับฝีปากของฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงโดยตรง มีทั้งบทเกี้ยวพาราสี ต่อว่า เสียดสี แทรกลูกขัด ลูกหยอด ให้ได้ตลกเฮฮากัน สำนวนกลอนมีนัยยะออกเป็นสองแง่สองง่าม เครื่องดนตรีที่ใช้ คือ กลองรำมะนา ฉิ่ง วิธีแสดงจะมีต้นเสียงร้องก่อน โดยส่งสร้อยให้ลุกคู่ร้องรับ แล้วจึงด้นกลอนเดินความ เมื่อลงลูกคู่ก็จะรับด้วยสร้อยเดิมพร้อมกับตีรำมะนา และฉิ่งเข้าจังหวะการร้องรับนั้นด้วย   ลำตัด เป็นการแสดงที่มาจากการแสดงลิเกบันตนของมลายู 




โนรา
 "โนรา" มโนห์ราหรือโนราเป็นการเล่นที่นิยมกันมากทั่วภาคใต้ ไม่ว่างานเทศกาลนักขัตฤกษ์หรืองานมงคลใดๆ มักจะมีมโนห์รามาแสดงด้วยเสมอ มโนห์ราเป็นการแสดงทำนองเดียวกับละครชาตรีที่เล่นกันแพร่หลายในภาคกลาง กล่าวคือมีการร่ายรำ มีบทร้อง บทเจรจา และการแสดงเป็นเรื่องยาว   





หมอลำ
"หมอลำ" หมายถึง ผู้ที่มีความชำนาญในการขับร้องวรรณคดีอีสาน โดยการท่องจำเอากลอน มาขับร้อง หรือผู้ที่ชำนาญในการเล่านิทานเรื่องนั้น เรื่องนี้ หลาย ๆ เรื่อง





ขับร้อง
การเปล่งเสียงที่มีทำนอง  มีจังหวะแน่นอน  และมักมีบทร้องในการขับร้องนั้นๆ ด้วย  การขับร้องเมื่อแยกทั้งสอง ออกจากกัน แต่ละคำก็มีความหมายต่างกันไป  






หุ่น
หุ่นคือรูปแบบจำลอง ทำคล้ายของจริง ประดิษฐ์ด้วยวิธีปั้น หรือแกะสลัก ใช้ในการเล่นมหรสพ เคลื่อนไหวด้วยการปักหรือเชิด บังคับให้เคลื่อนไหวเพื่อแสดงเป็นเรื่องราว การนำหุ่นมาแสดงระยะแรกยังไม่สามารถเคลื่อนไหวได้มาก เป็นลักษณะหุ่นนิ่ง ต่อมาดัดแปลงแก้ไขจนสามารถเคลื่อนไหวเลียนแบบการเคลื่อนไหวของคนหรือสัตว์




รองเง็ง
การเต้นรำคู่ระหว่างหญิงกับชาย ไม่ถูกต้องตัวกัน เป็นการเล่นของชาวปักษ์ใต้ โดยเฉพาะจังหวัดที่มีไทยอิสลามอยู่มาก ระหว่างเต้นผู้เต้นจะร้องเพลงคลอไปด้วย มีเพลงยืนโรง ๒ เพลงคือ เพลงลาฆูดูวา กับ เพลงเมาะอีนังลามา.